Avocado

อาโวคาโด (Avocado)

ชื่อสามัญ    Avocado

ชื่อวิทยาศาสตร์     Persea americana Miller

ชื่อวงศ์     LAURACEAE

อาโวคาโดเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางเปลือกต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ ใบสีเขียวสด สากมือ

ดอกขนาดเล็กสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ผลเป็นทรงกลมรี หรือ ลักษณะทรงหยดน้ำ

เนื้อมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม รสมัน เนื้อละเอียด มีเมล็ดเดี่ยว

อาโวคาโดแบ่งเป็น 3 เผ่าคือ

+  เผ่ากัวเตมาลา ผลสีเขียว ขั้วผลขรุขระ เมล็ดเรียบเล็กค่อนข้างกลม เนื้อหนา ไขมันสูง ชอบอากาศหนาวเย็นปานกลาง

+  เผ่าอินดีสตะวันตก ผิวผลเรียบเป็นมัน สีเขียวอมเหลือง เปลือกหนา เมล็ดอยู่ในโพรงเมล็ดอย่างหลวม ๆ

รสหวานอ่อน ไขมันน้อย ชอบอากาศร้อน

+  เผ่าเม็กซิโก ผลเล็กเรียบ เมื่อแก่สีม่วง เปลือกบางกว่าอีก 2 เผ่า เปลือกหุ้มเมล็ดบาง เมล็ดใหญ่อยู่ในโพรงเมล็ดอย่างหลวม ๆ

   มีไขมันมากที่สุด ทนอากาศเย็นได้ดีที่สุด

วิธีปลูก : นิยมปลูก 2 วิธี คือ

1. การปลูกโดยใช้ต้นกล้าพันธุ์ดีที่ทำการเปลี่ยนยอดในโรงเรือนเรียบร้อยแล้ว

  ลงหลุมปลูกให้ระดับดินของปากถุงเดิมสูงกว่าระดับดินของปากหลุมเล็กน้อย กลบดินให้เต็มปากหลุม กดให้แน่พอสมควร

  วิธีการนี้มีต้นทุนที่สูง นิยมใช้ในการปลูกเชิงพาณิชย์ เนื่องจากจะได้ต้นที่มีความสม่ำเสมอ แข็งแรง

  โดยใช้ต้นพันธุ์อาโวคาโดที่มีอายุประมาณ 8–12เดือน มีความสูงอย่างน้อย 60 เซนติเมตร

  และให้พูนดินบริเวณโคนต้นให้สูงขึ้นมาเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขัง นำไม้หลักมาปักแนวเฉียงเพื่อยึดล้าต้นไม่ให้โค่นล้ม

  พร้อมมัดเชือกฟางเป็นรูปเลข 8 เพื่อไม่ให้ต้นพันธุ์เสียดสีกับไม้ปักจนมีรอยถลอกได้แล้ว รดน้ำทันที

2. การปลูกโดย ใช้เมล็ดปลูกเป็นต้นตอในแปลง แล้วเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีเมื่ออายุ 2 ปี ในช่วงปลายฤดูฝน เมื่อลำต้นมีความสูง

  ประมาณ 1 เมตร ล้ำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร หลังจัดทรงพุ่มแล้ว ซึ่งการดูแลค่อนข้างยุ่งยากในปีแรก

   วิธีการนี้จะมีต้นทุนการผลิตต่ำ แต่มีโอกาสถูกเชื้อราเข้าทำลายบริเวณรอยแผลในภายหลังได้ง่าย

   ควรมีการคลุมโคนต้นด้วยฟางข้าวหรือเศษหญ้าแห้งในฤดูแล้ง เพื่อรักษาความชื้น และให้น้ำสม่ำเสมอ ระวังอย่าให้ น้ำแฉะ

      

การผสมเกสรของอาโวคาโด :

โดยปกติ ดอกของอาโวคาโดเมื่อบานครั้งแรกจะยังไม่พร้อมผสมพันธุ์ แต่จะพร้อมผสมพันธุ์เมื่อบานครั้งที่ 2

เราสามารถแบ่งสายพันธุ์ อาโวคาโด ได้เป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการบานของดอกดังนี้

กลุ่ม A  :  มีการบานของดอกคือจะบานครั้งแรกในตอนเช้า เกสรตัวเมียนั้นพร้อมรับละอองเกสร

แต่ตัวเกสรตัวผู้นั้นไม่พร้อมผสม ดอกจะหุบในตอนเที่ยงและบานอีกครั้งในในตอนบ่ายวันรุ่งขึ้น

เกสรตัวผู้และตัวเมียจึงพร้อมผสม ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 30 ชั่วโมง (ค่อนข้างนาน)

ทำให้อาโวกาโดในกลุ่มนี้จึงติดผลยากได้แก่ พันธุ์แฮส (Hass) ปีเตอร์สัน (Peterson) ลูล่า(Lula)

มอนโร(Monroe) ปากช่อง 1-14 ปากช่อง 2-4 ปากช่อง 2-6 เป็นต้น

กลุ่ม B  :  มีการบานของดอกคือจะบานครั้งแรกในตอนบ่าย เกสรตัวเมียนั้นพร้อมรับละอองเกสร

แต่ตัวเกสรตัวผู้นั้นไม่พร้อมผสม และดอกจะบานอีกครั้งในในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น เกสรตัวผู้และตัวเมียจึงพร้อมผสม

ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ทําให้อะโวกาโดในกลุ่มนี้จึงติด ผลได้ค่อนข้าง ดีกว่า  

ได้แก่ พันธุ์ บัคคาเนีย (Buccanaer) บูธ 7 (Booth 7) บูธ 8  (Booth 8) เฟอร์เต้ (Fuerte)  ฮอล (Hall)

รูเฮิล (Ruehle) ปากช่อง 2-8 ปากช่อง 2-5 ปากช่อง3-3 เป็นต้น

หากต้องการเพิ่มการติดผลของอาโวคาโด โดยเฉพาะสายพันธุ์กลุ่ม A ควรปลูก พันธุ์กลุ่ม A ร่วมกับกลุ่ม B

โดยการผสมพันธุ์ในต้นเดียวกันจะใช้ลมเป็นหลัก ส่วนการผสมข้ามต้นจะใช้แมลง เช่นผึ้ง มดตะนอย  เป็นหลัก

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

You may use these HTML tags and attributes:

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>